การใช้เพลงประกอบการสอน




เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน
การจัดการเรียนการสอนนั้น นักเรียนชอบร้องเพลงหรือฟังเพลงที่ครูร้อง ถ้าเป็นเพลงที่กำลังอยู่ในความนิยม นักเรียนก็จะชื่นชอบเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม เพลงที่อยู่ในความนิยมของนักเรียนก็ใช้ได้ในบางโอกาส เพื่อผ่อนคลายความเครียดในชั้นเรียน แต่เพลงที่จะเน้นในบทนี้เป็นเพลงประกอบการสอน ซึ่งเนื้อหาเพลงจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนครูควรได้ศึกษาแล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชั้นเรียนของตนเองต่อไป



ความหมายของเพลง


เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี กระบวนการวิธีรำดาบ รำทวน เป็นต้น
ซึ่งการร้องแก้กันมีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย (ราชบัณฑิตยสถาน , 2529 : 604)
ชัยวัฒน์ เหล่าสืบสกุลไทย (๒๕๔๙ : ๑๖) กล่าวว่า การร้องเพลงเป็นกิจกรรมที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งของคนเรา ซึ่งเรานำเพลงมาเป็นสื่อเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน เบิกบานผ่อนคลายอารมณ์ สร้างความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา อีกทั้งยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ และกระชับความสัมพันธ์ในหมู่คณะได้อีกด้วย

ทรง จิตประสาท (2534 : 18) กล่าวถึงเพลงประกอบการสอนว่า เพลง คือ ลำนำ ทำนอง ท่วงทำนองของดนตรี คำขับร้องต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ และภารกิจอื่น ๆ
ในชีวิตประจำวันได้อีก เราเรียกกิจกรรมนี้ว่านันทนาการ (ดนู จีระเดชากุล , 2541 : 8)
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2550 : 29) กล่าวว่า การใช้เพลงประกอบการสอน หมายถึง การนำเพลงมาให้นักเรียนร้อง หรือครูร้องให้นักเรียนฟัง เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนหรือทำกิจกรรมของบทเรียน

การร้องเพลง จัดได้ว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้
ในหลาย ๆ โอกาส เช่น การร้องเพลงในยามว่างกับครอบครัว การร้องเพลง หรือการเล่นประกอบเพลงกับเด็ก ๆ ในโรงเรียน ในหมู่บ้าน การร้องเพลงในช่วงเวลาว่างของการจัดฝึกอบรมสัมมนา การเข้าค่ายพักแรม การร้องเพลงบนรถขณะไปค่ายพักแรม ท่องเที่ยวทัศนศึกษา หรือร้องเล่นในกลุ่มเพื่อนก็นับได้ว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าทางนันทนาการอีกรูปแบบหนึ่ง
สรุปได้ว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง หรือทำนองดนตรี และเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน การสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟังเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน


วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน
วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน มีหลายประการที่สำคัญ ได้แก่
1. เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
3. เพื่อสอดคล้องแทรกคุณธรรม จริยธรรม ลแะคุณลักษณะที่พึ่งประงสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
4. เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์


ประโยชน์ของเพลงประกอบการสอน
เพลงช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้สนุกสนาน และสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์ เพลงสามารถสะท้อนปัญหาของสังคมหรือให้แง่คิดในการดำเนินชีวิต เพลงเกี่ยวกับศาสนาจะให้คุณค่าด้านคุณธรรม เพลงประกอบการก็เช่นเดียวกัน
เจนเซน (Jensen,2009 : 150) กล่าวถึง ความสำคัญของดนตรีว่าหากครูนำมาใช้ในชั้นเรียนทำให้บรรยากาศเรียนรู้มี มิตรภาพมากขึ้น และเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2550 : 29-30) ได้กล่าวว่า การใช้เพลงประกอบการสอนจะช่วยทำให้บทเรียนน่าสนใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยสร้างแรงจูงให้แก่นักเรียนในการเรียน ช่วยให้จดจำเนื้อหาและประทับใจความรูสึกไว้ได้นาน การใช้เพลงยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเดก สร้างระเบียบวินัย ประสบการณ์ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระว่างครูกับนักเรียน


ลักษณะของเพลงประกอบการสอน
1. เป็นทำนองเพลงที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องจนติดปากแล้ว
2. บทเพลงที่นักเรียนมีโอกาสปรบมือ ทำจังหวะ และแสดงท่าทางต่างๆ
3. แต่งเป็นบทร้อยกรองกลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี ๑๑
4. บทเพลงเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียน หรือเกี่ยวกับคน
5. เน้นความไพเราะสนุกสนาน

6. มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
7. มีเนื้อหาที่ไม่หยาบคาย
8. เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อหาสั้นๆ ไม่ยาวจนเกินไป
9. สนุกสนาน กระตุ้นและเร้าใจ
10. หลังจากร้องเพลงจบแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง


เทคนิคการใช้เพลงประกอบ
การใช้เพลงประกอบการสอนนั้น ครูอาจใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นทำกิจกรรมการเรียนการสอน หรือขั้นสรุปก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและอยู่ในดุลยพินิจของครู และในการร้องเพลงครูอาจเป็นคนร้อง หรือให้นักเรียนร้อง หรือเปิดเทปบันทึกเสียงให้ฟังก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมสนทนาถึงสาระสำคัญของเนื้อเพลง หรือข้อคิดข้อเตือนใจที่ได้จากเพลง หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากที่ได้ฟังเพลง


อ้างอิง
ณรงค์ กาญจนะ เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1 กรุงเทพ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์ 2553