การนำเข้าสู่บทเรียน









กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมความพร้อม ป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดการบาดเจ็บในการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ เกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหา สับสน กังวลใจ เบื่อหน่ายการเรียน หรือเรียนอย่างไม่มีความสุข


ความหมาย
ความหมายของคำว่า “นำ” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 หมายถึง เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตาม ฉะนั้น คำว่า “นำเข้าสู่” ก็เป็นการเริ่มต้นเพื่อไปสู่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า “บทเรียน” หมายถึง คำสอนที่กำหนดให้เรียน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546: 578,602) ฉะนั้น ตามรูปศัพท์ “การนำเข้าสู่บทเรียน” หมายถึง การเริ่มต้นเพื่อไปสู่เนื้อหาสาระหรือคำสอนที่กำหนดให้เรียน
อรภัทร สิทธิรักษ์ (2540: 121) อธิบายว่า การนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรมก่อนเริ่มสอนเนื้อหาในทุกวิชา เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร โดยนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูสอน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ชัดเจนขึ้น
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และคณะ (2549: 167) อธิบายว่า การนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การกระตุ้นและเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีต่อบทเรียน ทำให้นักเรียนมีความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะเรียน นักเรียนรู้ว่าจะเรียนเรื่องอะไร โดยที่ครูไม่ต้องบอกโดยตรง และนักเรียนยังสามารถนำความรู้เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ได้อย่างถูกต้อง
สรุปได้ว่า การนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียน และก่อนที่ครูจะสอนเนื้อหาทุกวิชา เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้ ซึ่งทำได้โดยการหากิจกรรมที่เร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น


วัตถุประสงค์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
การนำเข้าสู่บทเรียนเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และหากกิจกรรมนี้เริ่มต้นได้ ไม่ดี กิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆ ที่ตามมาก็ได้รับผลกระทบด้วย การนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์หลายประการ ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
สุวรรณี ศรีคุณ (2527: 187 อ้างถึงใน อินทิรา บุณยาทร, 2542: 218) กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าสู่บทเรียน ก็เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียนให้นักเรียนมีความคิดว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และเทคนิคเดิมที่มีอยู่มาสัมพันธ์กับเรื่องที่เรียน ก็จะทำให้เข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เสริมศรี ลักษณศิริ (2540: 319) อธิบายว่า กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนเป็นกิจกรรมที่ครูทำเมื่อเริ่มต้นของการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ที่การสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิในการฟังเรื่องที่ครูจะสอน เป็นการทำให้นักเรียนเข้าใจความหมายของบทเรียนชัดเจนขึ้น นักเรียนรู้ว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และเทคนิคที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูจะสอนต่อไปได้ การนำเข้าสู่
สรุปได้ว่า กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์ เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน หรือดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ที่การสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิในการฟังเรื่องที่ครูจะสอน นักเรียนรู้ว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และทักษะเดิมที่มีอยู่มาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ ซึ่งทำให้นักเรียนเห็นแนวทางในการเรียนรู้ และจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการนำเข้าสู่บทเรียน
1. เร้าความสนใจของนักเรียน
2. เตรียมให้นักเรียนมีความพร้อม
3. นักเรียนรู้ว่าจะเรียนเรื่องอะไร
4. นำความรู้และทักษะเดิมมาสัมพันธ์กับบาทเรียนใหม่


ประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
1. สามารถเรียกร้องความตั้งใจของนักเรียนใฝห้พร้อมที่จะเรียน
2. สามารถเร้าและจูงใจให้นักเรียนคงความสนใจในบทเรียน
3. สามารถบอกลักษณะและวิธีการสอนของเรื่องที่จะเรียนได้
4. สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับเรื่องที่จะเรียนต่อไปได้
เฉลิม มลิลา (2526: 12) กล่าวถึงคุณค่าและประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน ดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมในการเรียนรู้
2. ช่วยนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ประสบการณ์ได้อย่างมีความหมาย และโดยง่ายยิ่งขึ้น
3. ช่วยกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจ ใฝ่รู้ และเรียนด้วยความสนุกสนาน
4. เป็นการปูพื้นฐานความรู้ ความคิด และแนวทางการประกอบกิจกรรมการเรียน การสอนประสบการณ์ใหม่ระหว่างครูและนักเรียนในเบื้องต้น
5. เป็นสื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักศึกษาครูก่อนดำเนินการสอนในขั้นต่อไป
6. ช่วยให้นักเรียนเกิดมโนทัศน์ (Concepts) ที่ดีและถูกต้อง
7. เป็นวิธีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์ หรือต่อเนื่องกันอย่างมีความหมาย
8. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำกิจกรรม และการมีสุขภาพจิตที่ดีของทั้งนักเรียนและครู
9. ช่วยให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจบทเรียนได้ดีและรวดเร็ว
10. ช่วยพัฒนาทัศนคติในการเรียนที่ดีให้กับนักเรียน
11. เป็นช่องทางช่วยผ่อนแรงในการสอนให้สามารถกระทำได้โดยง่าย รวดเร็วและได้ผลดีสมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
12. ผลสะท้อนกลับ (Feedback) จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน นับเป็นปัจจัยที่ช่วยในการปรับปรุงทักษะ และวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนของครูในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า การนำเข้าสู่บทเรียนมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น รวมทัี้งเป็นสื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียนก่อนดำเนินการสอนในครั้งต่อไป และช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับเรื่องที่จะเรียนต่อไปได้


ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
กล่าวโดยทั่วไปได้ดว่า ในตอนเริ่มต้นของการสอนแต่ละครั้ง ครูควรเริ่มด้วยกิจกรรม การนำเข้าสู่บทเรียน นอกจากนี้ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และคณะ (2549 : 167) ได้แนะนำสถานการณ์เฉพาะที่ควรใช้ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ดังนี้
1. เมื่อเริ่มเรื่องหรือเริ่มบทเรียนใหม่ เพื่อโยงเข้าสู่เรื่องที่จัดการเรียนรู้
2. เมื่อจะมอบหมายการบ้านหรือการทำงาน เพื่อแนะนำวิธีการทำงานนั้น
3. เมื่อเตรียมการอภิปราย เพื่อแนะนำให้นักเรียนดำเนินการได้ตรงตามเป้าหมาย
4. ก่อนที่จะให้นักเรียนดูภาพยนตร์ ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ ฟังวิทยุและเทป เพื่อแนะนำให้นักเรียนจับประเด็นของเรื่องที่ดูหรือฟังนั้นได้

โดยทั่วๆ ไปครูที่มีความชำนาญในการสอนมักจะมใช้เวลาสั้นๆ เพียง 5-10 นาที จัดกิจกรรมก่อนเริ่มการสอนเนื้อหาเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนปรับสถานการณ์เดิมให้พร้อมที่่จะประสานกับประสบการณ์ใหม่ และให้นักเรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่จะเรียนได้ดีขึ้น ถ้าครูมีเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนและนำไปใช้อย่างได้ผลก็จะทำให้เกิดผลดี ดังนี้ (พึงใจ สิทธวานนท์, 2520 : 349 อ้างใน เสริมศรี , 2540: 319) บทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยทำให้วัตถุประสงค์ของการเรียนนั้นๆ ชัดเจนขึ้นเพราะนักเรียนถูกดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนด้วย